Horti ASIA

วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ประเดิม “เกษตรสัญจร” ที่ภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นครั้งแรก โดยเน้นหัวข้อที่น่าสนใจอย่างและเป็นประเด็นร้อนอย่าง “วิกฤตยางพาราไทยและทางรอดของเกษตรกรภาคใต้” และ “เทคนิคการปลูกข้าวโพดและเพิ่มผลผลิต” พร้อมทั้งนำผู้ประกอบการชั้นนำ อาทิ บริษัท Y.V.P. Group ผู้นำเข้าแม่ปุ๋ยคุณภาพสูงจากทั่วโลก และ Thai Advance Agri Tech ผู้ผลิตและจำหน่าย ชุดปลูกพืช ไฮโดรโปนิกส์ แนวตั้งแห่งแรกของประเทศไทย มาเรียกน้ำย่อยก่อนงานใหญ่ที่กรุงเทพฯ ฮอร์ติ เอเชีย และ อะกริ เอเชีย (Horti ASIA & AGRI – Asia) งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้ และนวัตกรรมพืชไร่ เครื่องจักรกลเทคโนโลยีการเกษตร ระหว่างวันที่ 17 – 19 มีนาคม 2558 ณ ไบเทค บางนา

[av_image src=’https://horti-asia.com/wp-content/uploads/2016/05/DSC00308.jpg’ attachment=’5467′ attachment_size=’full’ align=’center’ styling=” hover=’av-hover-grow’ link=” target=” caption=” font_size=” appearance=” overlay_opacity=’0.4′ overlay_color=’#000000′ overlay_text_color=’#ffffff’ animation=’no-animation’ av_uid=’av-6t37e2′][/av_image]

คุณลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด กล่าวว่า “เกษตรสัญจรในวันนี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ทั้งจากจ.สงขลา และจ.ใกล้เคียง ซึ่งมาเข้าร่วมฟังสัมมนา โดยเราได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มาบรรยายในหัวข้อที่คนในพื้นที่สนใจ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่เราพาลงมา ได้นำเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ และมีราคาเหมาะสมต่อเกษตรกรหรือนักธุรกิจี่จะสามารถจัดซื้อไปต่อยอดและพัฒนากิจการของตนเองได้

สาเหตุที่เราตั้งใจจัดงานเกษตรสัญจรอย่างต่อเนื่องมาหลายปี เนื่องจาก หลายประเทศในอาเซียนต่างตื่นตัวต่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC และเรามีความตั้งใจพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรไทยให้ทัดเทียม หรือก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ โดยตั้งใจทำเกษตรสัญจรให้เป็น เวทีระดับท้องถิ่นที่สำคัญ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เบื้องต้น ด้านการเจรจาธุรกิจ และ ไปลงสนามจริงระดับประเทศ และนานาชาติ ที่งาน ฮอร์ติ เอเชีย และ อะกริเอเชีย 2015 ระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2558 ณ ไบเทค บางนา”

[av_image src=’https://horti-asia.com/wp-content/uploads/2016/05/DSC00425.jpg’ attachment=’5469′ attachment_size=’full’ align=’center’ styling=” hover=’av-hover-grow’ link=” target=” caption=” font_size=” appearance=” overlay_opacity=’0.4′ overlay_color=’#000000′ overlay_text_color=’#ffffff’ animation=’no-animation’ av_uid=’av-6ghvy2′][/av_image]

คุณทรงเมท สังข์น้อย ตัวแทนจากศุนย์วิจัยยางสงขลา คุณดวงกมล อินทร์แก้ว เศรษฐกร ตัวแทนจากสำนักงานตลาดกลางยางพารา จ.สงขลา และ คุณธนพล ทองหวาน รองประทานเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ร่วมเสวนนา “วิกฤตยางพาราไทยและทางรอดของเกษตรกรภาคใต้” ในอดีตยางพาราโดนกดราคาทำให้เกิดการสร้างแนวคิด ตลาดกลางยางพาราขึ้นเพื่อยกระดับราคาของยางพารา โดยจะมีการประมูลยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง ทั้งนี้ทำให้เกิดการพัฒนายางให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเพื่อนำมาเข้าประมูล ณ ปัจจุบันไทยยังประสบปัญหาอย่างรุนแรงไม่ว่าด้านการผลิตที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม และการส่งออกที่มีต้นทุนสูงและมีตลาดแคบเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สําคัญ คือ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ระบบตลาดที่ยังไม่เอื้อต่อการส่งออกและไม่สามารถกําหนดราคายางในตลาดโลกได้และสุดท้ายการใช้ยาง

ในประเทศยังมีข้อจํากัดคืออัตราการขยายตัวอยู่ในอันดับต่ํา และมีการใช้ผลิตภัณฑ์ยางที่ปรับลดในประเทศน้อยกล่าวคือผลิตภัณฑ์ยางบางชนิดมีการนําเข้าทั้งที่ประเทศไทยผลิตได้แล้วเช่น ฝายยาง ยาง รถยนต์บางชนิดเป็นต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะเป็นผู้ควบคุมนโยบายด้านการผลิตสินค้าเกษตรตระหนักและปรับนโยบายและทิศทางการพัฒนาการผลิตพืชให้เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของประเทศ และยึดถือการผลิตของเกษตรกรเป็นหลัก การผลิตยางของประเทศควรมีการพัฒนาแบบครบวงจรด้านการผลิต ตลาด และราคายางอุตสาหกรรมยางและการบริหารภาคยาง

[av_image src=’https://horti-asia.com/wp-content/uploads/2016/05/DSC00474.jpg’ attachment=’5470′ attachment_size=’full’ align=’center’ styling=” hover=’av-hover-grow’ link=” target=” caption=” font_size=” appearance=” overlay_opacity=’0.4′ overlay_color=’#000000′ overlay_text_color=’#ffffff’ animation=’no-animation’ av_uid=’av-3mcrei’][/av_image]

คุณฉันทนา คงนคร นักวิชาการเกษตร ชำนาญพิเศษ ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา บรรยายหัวข้อถั่วลิสงในประเทสไทย
พื้นที่ปลูกและผลผลิตรวมถั่วลิสงในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการผลผลิตมีมากขึ้น แต่ผลผลิตภายในประเทศกลับลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการเนื่องจากมีการนําเข้าถั่วลิสงจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมาร์และเวียดนาม ในราคาถูก เพราะต้นทุนการผลิตมากกว่าของไทย ทําให้ราคาผลผลิตภายในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิน้อยลงจึงเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ความต้องการใช้ถั่วลิสงของไทยในแต่ละปีคาดว่ามีประมาณปีละ 1.2 – 1.5 แสนตัน ทําให่มีการนําเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านประมาณ 50,000 ตัน/ปี ผลผลิตถั่วลิสงของไทย ส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศทั้งในรูปของถั่วลิสงฝักสดและถั่วลิสงฝักแห้งโดยมีการนําเข้าถั่วลิสงฝักแห้งทั้งเปลือกและเมล็ดถั่วจากประเทศคู่ค้าที่สําคัญ คือ สาธารณะรัฐประชาชนจีน สหภาพเมียร์มาร์ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียดนาม เป็นต้น สําหรับการส่งออกผลผลิตถั่วลิสงนั้น ส่วนใหญ่เปนผลิตภัณฑ์อาหารเช่น ถั่วลิสงเปลือกแห้งอบ ถั่วลิสงปรุงรสต่าง ๆ โดยมีประเทศคู่ค้าคือ มาเลเซีย เกษตรกรจึงควรหมั่นหาความรุ้และพัฒนาตนอยู่เสมอ เพื่อที่จะสามารถออกไปสู้กับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนได้

[av_image src=’https://horti-asia.com/wp-content/uploads/2016/05/DSC00533.jpg’ attachment=’5471′ attachment_size=’full’ align=’center’ styling=” hover=’av-hover-grow’ link=” target=” caption=” font_size=” appearance=” overlay_opacity=’0.4′ overlay_color=’#000000′ overlay_text_color=’#ffffff’ animation=’no-animation’ av_uid=’av-1u438a’][/av_image]

คุณสรายุทธ ช่วงพิมพ์ นักวิชาการเกษตร ชำนาญพิเศษ ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา บรรยายในหัวข้อเทคนิคการปลูกข้าวโพดและเพิ่มผลผลิต ข้าวโพดถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญและทำรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมากพืชหนึ่ง โดยปัจจุบันข้าวโพดฝักอ่อนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ในรูปของการบริโภคฝักสด แช่แข็ง และการบรรจุกระป๋องเป็นสินค้าออก ซึ่งทำรายได้ให้กับประเทศไทยปีละหลายร้อยล้านบาท ประกอบกับข้าวโพดฝักอ่อนใช้ระยะเวลาในการปลูกเพียง 45-60 วันเท่านั้น ก็สามารถเก็บเกี่ยวทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ถึงไร่ละประมาณ 2,000-3,000 บาท โดยไม่ต้องระวังโรคแมลงมากนัก ดังนั้นการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตให้เหมาะสมและถูกต้อง ตั้งแต่การเตรียมดิน การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การปลูก การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การปฏิบัติดูแลรักษา จนกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
บริษัทไทย แอดวานซ์ อะกรี เทค จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายระบบปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์แนวตั้งสมบูรณ์แบบเจ้าแรกในประเทศไทย ได้นำเสนอ ระบบปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์แนวตั้ง เป็นระบบที่มีการปลูกพืชแนวตั้งสมบูรณ์แบบที่มีการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย เพื่อให้การปลูกพืชสมบูรณ์และลดปัญหาที่เกิดกับลูกค้าทำให้การปลูกพืชง่ายขึ้นและทำได้แม้อากาศร้อน ทั้งนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งระบบไฮโดรโปนิกส์และปลูกพืชโดยใช้วัสดุปลูกได้ ระบบนี้สามารถช่วยให้ผู้ปลูกพืชใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่าแบบดั้งเดิม2-3 เท่า กระถางพลาสติกของบริษัทเป็นพลาสติก Food grade ที่ผสมสารยูวีและฉนวนกันความร้อน ทำให้สัมผัสอาหาร อยู่กลางแดดได้นาน และลดความร้อนที่เข้ามาในระบบ ทำให้ผักที่ปลูกปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริงและลดปัญหาเรื่องโรคบางชนิดได้
บริษัท Y.V.P. Group ผู้นำเข้าแม่ปุ๋ยคุณภาพสูงจากทั่วโลก ได้นำ ตัวอย่าง กลุ่มปุ๋ยเกล็ด มาจัดแสดงในงานเกษตรสัญจร ซึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งของบริษัทฯ ที่เกษตรกรให้ความไว้วางใจมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้แก่เกษตรกรการคัดสรรแม่ปุ๋ยคุณภาพดีจากต่างประเทศมาผลิตปุ๋ยสูตร ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากการให้ปุ๋ยเกล็ดเป็นการให้ปุ๋ยที่รวดเร็วทันต่อความต้องการปุ๋ยของพืชในภาวะวิกฤติ ดังนั้น ปุ๋ยเกล็ด ตรา วาย.วี.พี.ฟีด สามารถใช้ได้ผลดี สามารถใช้โดยฉีดพ่นทางใบ ให้ทางระบบน้ำและการให้ปุ๋ยระบบไฮโดรนิคส์


ตารางเกษตรสัญจรในประเทศไทย
• สงขลา 30-31 ตุลาคม 2557
• อุดรธานี 6-7 พฤศจิกายน 2557
• ขอนแก่น 20-21 พฤศจิกายน 2557
• อุบลราชธานี 18-19 ธันวาคม 2557
• เชียงใหม่ 22-23 มกราคม 2558
• สุพรรณบุรี 5-6 กุมภาพันธ์ 2558

ฮอร์ติ เอเชีย และ อะกริ เอเชีย (Horti ASIA & AGRI – Asia) งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้ และนวัตกรรมพืชไร่ เครื่องจักรกลเทคโนโลยีการเกษตร จะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 19 มีนาคม 2558 ณ ไบเทค บางนา โดยคาดว่าจะมีผู้แสดงสินค้าจาก 150 บริษัท และผู้เข้าชมงานกว่า 6,500 คน ทั่วโลก

Zetaboto Widget